มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma cancer ) หมายถึง มะเร็งที่เกิดกับระบบต่อมน้ำเหลือง เกี่ยวข้องกับระบบโลหิต และ ฮอร์โมนร่างกาย สาเหตุการเกิดโรค อาการ ระยะโรค แนวทางการรักษา การป้องกันการเกิดโรค และการตรวจคัดกรองเพื่อการรักษาได้ในระยะต้นๆของโรคมะเร็ง มีรายละเอียดต่างๆ ต่อไปนี้
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีโอกาสพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่จากสถิติพบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง เนื่องจากทั่วร่างกายมีต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป ตามข้อพับ ขาหนีบ ทรวงอก ช่องท้อง และยังเชื่อมต่อกับระบบโลหิต
ประเภทของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สำหรับประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน โดยรายละเอียด มีดังนี้
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ( Hodgkin’s disease; HD ) หรือ ( Hodgkin’s lymphoma; HL ) หมายถึง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์ (lymphocyte) ในระบบน้ำเหลืองเกิดการผิดปกติทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งชนิดนี้สามารถพบได้น้อยมาก
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน ( Non-Hodgkin’s lymphoma; NHL ) หมายถึง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์ ( lymphocyte ) ในระบบน้ำเหลืองเกิดการผิดปกติทำให้เกิดโรคมะเร็งและสามารถแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆได้ พบมากในประเทศไทย ดังนั้นหากพูดถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยทั่วไปจะหมายถึง NHL ชนิดนี้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สาเหตุที่มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้
- สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การอาศัยอยู่ใกล้แหล่งสารพิษ มลพิษต่างๆทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
- บุคคลที่มีภูมิต้านทานน้อย เช่น ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์อักเสบ โรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้กินยาลดภูมิต้านทานเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ
- กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีญาติพี่น้องเคยป่วยเป็นโรคนี้มีโอกาสจะเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
- การติดเชื้อต่างๆ
- โรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคเอดส์มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
อาการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มีอาการไข้ โดยเป็นๆหายๆ
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- เกิดอาการบวมพองโตของอวัยวะที่เป็นโรค เช่นที่ คอ ไม่เจ็บ แต่คลำเจอก้อนเนื้อ
- แขนขาอ่อนแรง
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง เป็นๆหายๆ
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ตรวจประวัติการรักษา
- ตรวจประวัติญาติพ่อแม่พี่น้องที่เคยป่วยเป็นโรคมะเร็ง
- สอบถามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
- ตรวจร่างกายทั่วไป
- ตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา
ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สำหรับระยะการเกิดมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งได้ 4 ระยะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ระยะแรก อาการยังไม่ลุกลาม เป็นเฉพาะบริเวณต่อนน้ำเหลืองนั้น เช่น คอ รักแร้ อัตรารอด 80-90 เปอร์เซนต์
- ระยะสอง อาการเริ่มลุกลามไปบริเวณใกล้เคียง อัตรารอด 70-80 เปอร์เซนต์
- ระยะสาม ต่อมน้ำเหลืองใหญ่ที่ส่วนบน ใต้กระบังลม ลำคอ ขาหนีบ ติดเชื้อมะเร็ง อัตรารอด 50-70 เปอร์เซนต์
- ระยะสุดท้าย อวัยวะอื่นได้รับเชื้อมะเร็ง เช่น ตับ สมอง และเสียชีวิตในที่สุด อัตรารอด 0-50 เปอร์เซนต์
การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การใช้เคมีบำบัด นิยมใช้วิธีนี้ในการรักษา
- การใช้รังษีรักษา ขึ้นอยู่กับการประเมินอาการของแพทย์ผู้รักษา
- การผ่าตัด แต่มักไม่นิยมเพราะสามารถรักษาได้โดยเคมีบำบัด
- การใช้ยารักษากรณีระยะท้ายๆของโรค
- การปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดขาวใหม่ แต่ค่าใช้จ่ายสูง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ระยะแรกจะไม่มีอาการทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- เป็นโรคที่ยากจะป้องกัน สิ่งที่ทำได้คือการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากมลพิษ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- เมื่อคลำเจอต่อมน้ำเหลืองโต มีก้อนเนื้อโต กดไม่เจ็บ บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อจะได้สามารถรักษาให้หายได้แต่เนิ่นๆ