โรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลต่อความผิดปกติต่อการทำงานของหัวใจ และ ระบบการไหลเวียนของโลหิต ส่งผลต่อระบบการทำงานอื่นๆของร่างกาย โรคอันตราย สาเหตุ และ การรักษาทำอย่างไร
โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่พบได้มัก พบได้ในทุกวัย ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และ การดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึง พฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย ความเครียด และ สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผู้สูงอายุมักมีโอกาสพบโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าวัยเด็ก และพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจ มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นสาเหตุต้นๆของการเสียชีวิตของคนไทยอีกด้วย
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคที่เกี่ยวข้องกับ หัวใจ และ หลอดเลืือดหัวใจ มีหลายโรค โรคหัวใจและหลอดเลือดที่ควรทำความรู้จัก มีดังนี้
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับอาการผิดปรกติของหัวใจและหลอดเลือด นั้นผู้ป่วยมักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ได้แก่
- โรคอื่นๆที่เป็นมาก่อน เช่น โรคอ้วน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือด, เบาหวาน พบว่าโรคต่างๆเหล่านี้มักเป็นปัจจัยเร่งต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดในหัวใจ เพราะไขมันจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจทำให้มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดเต็มที่่ จึงป่วยเป็นโรคหัวใจต่างๆตามมา
- การสูบบุหรี่่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าผู้ป่วยที่ติดบุหรี่และสุราจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าปกติ
- การบริโภคอาหารเนื้อสัตว์แปรรูปมากและขาดการออกกำลังกาย พบว่าผู้ป่วยมักชอบทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอกประเภทต่างๆ แฮม เบคอน และขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรงจึงมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่ายกว่าปกติ
- พันธุกรรม ผู้ป่วยโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดส่วนหนึ่งมักพบว่า ญาติพ่อแม่พี่น้องมีประวัติการป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงเมื่อรู้ตัวควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพให้มาก
- อายุ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักเกิดมาจากคลอเรสเตอรอล ในเลือดมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนั้นกล้ามเนื้อหัวใจมักขาดความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น จึงเป็นผลนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เพศ พบว่าเพศชายมีโอกาสการป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าเพศหญิง ในผู้หญิงวัยที่หมดประจำเดือนพบว่ามีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน
- สภาพแวดล้อม มลพิษต่างๆ พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ภายใต้สภาวะมลพิษต่างๆมักมีโอกาศป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีงานวิจัยแสดงถึงมลพิษต่างๆส่งผลถึงการเต้นของหัวใจ การตีบของหลอดเลือดหัวใจ
วิธีการตรวจโรคหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจดรคหัวใจ มีวิธีการตรวจ 4 ระดับ ประกอบด้วย รายละเอียด ดังนี้
- การวัดความดันโลหิต การตรวจชีพจร การตรวจเบื้องต้นอัตราการเต้นหัวใจ การเจาะเลือดดูไขมันในเลือด
- การตรวจประวัติการรักษา ว่าเป็นโรคใดที่มีความเสี่ยงร่วม รวมถึงประวัติของญาติพ่อแม่พี่น้องที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์
- การเครื่องหมายชีวภาพต่างๆเพื่อดูปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ
วิธีการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การลดความเครียด การหลีกเลี่ยงสภาวะทางจิตที่ถูกกดดันทางสังคม กิจกรรมหรืองานที่ทำให้เกิดความเครียด เข้ารับการบำบัดต่างๆเมื่อพบว่าตนเองมีอาการป่วยทางจิตรวมถึงมีความเครียดสูง
- ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รวมทั้งอาหารหวาน เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง ผักผลไม้ธัญพืชต่างๆ
- เพิ่มการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หากไม่มีเวลาควรใช้กิจกรรมเช่นงานบ้านต่างๆซึ่งถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว หมั่นวัดค่าดัชนีมวลกายของตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนัก
- ลดการสูบบุหรี่ หรือหากสามารถเลิกได้เลยจะส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมาก
- ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกดื่มเลย
- หมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ และรีบปรึกษาแพทย์หากพบความผิดปกติของร่างกาย