โรคภูมิแพ้ ( Allergy ) หมายถึง คือ สภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มากและเร็วกว่าปกติ ส่งผลการการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดอาการรำคาญ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเป็นเรื่องอันตราย โรคภูมิแพ้ในประเทศไทย พบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ อาการภูมิแพ้ต่างๆ จะขึ้นกับอวัยวะที่เป็นโดยส่วนมากจะเกิดการอักเสบ บวม การตีบตัว
ซึ่งจะส่งผลการการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดอาการรำคาญ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ซึ่งหากรุนแรงอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆตามได้ ทำให้อาการทรุดหนักได้ โรคภูมิแพ้ ที่เกิดขึ้นที่โพรงจมูก เกิดเมื่อสารก่อภูมิแพ้ได้สัมพัสกับเยื่อบุโพรงจะมูกผ่านทางการหายใจ พบว่าจะเกิดการอักเสบ บวม คัน จาม มีน้ำมูกใส
โรคภูมิแพ้ สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรคภูมิแพ้ ที่เกิดที่หลอดลม เกิดเมื่อสารก่อภูมิแพ้เข้ามาสู่ระบบหายใจผ่านทางอากาศ ทำให้หลอดลมเกิดการเกร็ง หดตัว ตีบตัว ของหลอดลมทำให้ไม่สามารถหายใจได้ปกติ
สำหรับการเกิดโรคภูมิแพ้ เราพบว่ามีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย โดยหากแยกตามประเภทแล้วพบว่า โรคภูมิแพ้โพรงจมูกมีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทนี้มากที่สุด รองมาจะเป็นโรคภูมิแพ้หลอดลมอักเสบ หรือ โรคหืด และ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ โรคผดผื่น ส่วนโรคภูมิแพ้จากอาหารนั้นพบน้อยที่สุด
สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ มีสาเหตุการเกิดจากสภาวะแวดล้อมที่อยู่อาศัย รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยพบว่าหากผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนั้นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พันธุกรรม พบว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มักมีประวัติการรักษาโรคภูมิแพ้ของญาติพ่อแมพี่น้องมาก่อน ทั้งนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ควัน ไรฝุ่น ควันบุหรี่ เพื่อลดโอกาสการป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
การตรวจวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ มีการวินิจฉัยโรค โดยการตรวจประวัติการรักษาของคนในครอบครัว การสังเกตุอการที่แพ้ กรณีที่ผู้ป่วยทราบว่าแพ้อะไร แพทย์จะรักษาตามอาการและแนะนำการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆในเบื้องต้น ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าตนเองแพ้อะไร แพทย์จะให้มีการทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหืดจะทำการทดสอบสมรรถภาพระบบหายใจและปอด
การรักษาโรคภูมิแพ้
วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ สามารถรักษาได้โดย หลักๆจะมีการใช้ยารักษาและการควบคุมสภาพแวดล้อม ทั้งนี้การรักษาจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมกับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
การควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ ขึ้นอยู่กับสารภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ เช่น
- เกสรต่างๆ การกำจัดพืชที่ก่อเกสรที่แพ้ หมั่นตัดหญ้า ไม่ควรมีดอกไม้สดหรือแห้งไว้ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่าง เพิ่มเครื่องฟอกอากศ ลดกิจกรรมกลางแจ้งที่เข้าใกล้เกสรต่างๆ
- ขนสัตว์ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงต่างๆ ใช้เครื่องฟอกอากาศช่วยภายในอาคาร กรณีมีสัตว์เลี้ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรหมั่นทำความสะอาด ตัดขนให้สั้น ควรเลี้ยงนอกอาคารที่พักอาศัย
- แมลงต่างๆ ใช้ยาไล่แมลงต่างๆ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ กรณีแมลงสาบไม่ควรทิ้งเศษอาหารในบ้าน ถังขยะควรมีที่ปิดมิดชิด
- ไรฝุ่น หมั่นทำความสะอาดเตียง เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ไม่ควรมี ตุ๊กตา พรม ผ่าม่านหนาๆ จัดที่นอนให้โล่ง
- ควันต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด ส่วนใหญ่ได้แก่ ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย ควันธูป ควันหอมกลิ่นฉุน
การใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้
- ยาต้านการอักเสบ เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ใช้พ่นจมูกหรือทางปาก
- วัคซีน เป็นการใช้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ ค่อยฉีดเข้าร่างกายในปริมาณน้อยๆในเริ่มแรกและจะเพิ่มปริมาณขึ้นรื่อยๆจนผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน การรักษาด้วยวัคซีนจะต้องอยู่ในความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้เวลานานในการรักษา 3-5 ปี
- ยาบรรเทาอาการ กลุ่มยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เพื่อลดการอักเสบ และยาขยายขนาดหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืด
หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่างๆไม่ควรปล่อยเรื้อรังเพราะหากมีอาการรุนแรงอาจจะเกิดการแทรกซ้อนของโรคต่างๆตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ
วิธีการป้องกันโรคภูมิแพ้
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น ฝุ่นในอากาศ ควันต่างๆ
- หมั่นสังเกตุอาการตัวเองว่าจาม คัน หายใจผิดปกติ บวม หรืออาการผิดปกติอื่น เมื่อรับสารก่อภูมิแพ้ชนิดใด เพราะถ้าหากทราบว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ในเด็กควรได้รับนมแม่จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคภูมิแพ้ได้
โรคอื่นๆ ที่น่าสนใจ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |